วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สร้างเว็บด้วย Kompozer

Kompozer



โปรแกรม Kompozerเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการสร้าง Web สามารถจักการไฟล์เว็บ (HTML) การแก้ไขเว็บWYSIWYG (What You See Is What You Get) แก้ไขรูปแบบ stylesheet (CSS) มารวมไว้ด้วยกัน ใช้ง่ายเหมือน word processor สามารถเห็นผลลัพท์ของหน้า Web ได้ในทันที เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการ Web ที่สวยงาม ไม่จำเป็นต้องมีึความรู้เรื่อง HTML หรือสำหรับมืออาชีพที่ต้องการประหยัดเวลาโดยสามารถดูผลลัพธ์และ HTML สลับกันได้เพียงสลับ tab และเมื่อสร้างเนื้อหาเสร็จแล้ว คุณก็สามารถเผยแพร่ขี้นไปบนเว็บไซต์ได้ในปุ่มเดียว

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทและความสำคัญสำหรับสังคมในโลกปัจจุบัน เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารครอบคลุมได้ทั่วโลก การนำเสนอข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บนี้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปลาย ปี ค.ศ.1989 โดยทีมงานจากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มีการพัฒนาภาษาที่ใช้สนับสนุนการเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือ เอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องบริการเว็บ (Server) ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ

ส่วนประกอบของโปรแกรม KompoZer




ส่วนประกอบหลักของหน้าต่างการใช้งานโปรแกรม KompoZer มีรายละเอียดดังนี้
1. แถบเมนู จะรวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการจัดการเว็บเพจทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่
ประกอบด้วย File, Edit, View, Insert, Format, Table, Tools, Help

2. แถบเครื่องมือ จะประกอบด้วยปุ่ม หรือ ไอคอนแทนคำสั่งที่ใช้งานอยู่เป็นประจำโดย


ไม่จำเป็นต้องคลิกเลือกคำสั่งจากแถบเมนู เช่น การเปิดไฟล์ข้อมูล , การบันทึก ไฟล์ข้อมูล, การแทรกรูปภาพ เป็นต้น
หากต้องการแสดงหรือซ่อน แถบเครื่องมือใดสามารถ คลิกเลือกได้ที่ แถบเมนู View ->Show/Hide แล้วเลือกแถบ
เครื่องมือที่ต้องการ

3. พื้นที่จัดการไซด์ เป็นส่วนที่ใช้ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (เอกสารที่สร้างจากโปรแกรม KompoZer)
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (Upload) หรือ
จะเป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นมาเก็๋บไว้ในเครื่องเรา (Download) ก็ตาม

4. พื้นที่แก้ไขข้อความ เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างเอกสาร สามารถจัดรูปแบบของหน้าเว็บเพจตามต้องการ

5. โหมดการแสดงผล แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
- Normal Mode มีลักษณะเหมือนกับพื้นที่หน้ากระดาษเช่นเดียวกับในโปรแกรมประมวลผลคำทั่วไป
เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการใช้งาน
- HTML Mode มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Normal Mode แตกต่างเพียงจะมีสัญลักษณ์กำกับว่า
ในแต่ละส่วนได้มีการใช้โครงสร้างแท๊กของภาษา HTML ใด
- Source Mode จะปรากฏรายละเอียดของการใช้โครงสร้างแท๊กของภาษา HTML ทั้งหมด
เหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการใช้งานโครงสร้างภาษา HTML เป็นอย่างดี
- Preview Mode จะช่วยให้ผู้ใช้งานทราบว่า เมื่อเปิดเอกสารนี้บนเว็บบราวเซอร์
เว็บเพจนี้จะมีลักษณะอย่างไร




ฺที่มา
- http://www.thaiopensource.org/softwarerecommended/kompozer
- http://krunes.maepa.org

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

GNU Image Manipulation Program หรืออีกชื่อ กิมป์ (GIMP) Freeware และ Open source

GNU Image Manipulation Program หรืออีกชื่อ กิมป์ (GIMP)



GNU Image Manipulation Program หรืออีกชื่อ กิมป์ (GIMP)เป็นSoftwareที่ใช้ในการตกแต่งภาพแบบแรสเตอร์ เป็นSoftwareเหมือนกับ Adobe Photoshop GIMPทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และ ลินุกซ์ GIMP เป็นซอฟต์แวร์ฟรี สามารถหาโหลดได้ทั่วไปตามเวปไซต์ ที่อนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังอนุญาตให้นำไปแก้ไขและแจกจ่ายได้ด้วย

มาทำความรู้จักกับ GIMP

-กิมป์ เริ่มพัฒนาโดยนาย สเพนเซอร์ คิมบอล (Spencer Kimball) และ นาย ปีเตอร์ แมททิส (Peter Mattis) ในปีพ.ศ. 2538 ในระยะแรก GIMP มีชื่อเต็มคือ General Image Manipulation Program ในปีพ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น GNU Image Manipulation Program และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกนู
-กิมป์ ใช้ประมวลผลภาพกราฟิกส์และภาพถ่าย ตัวอย่างการใช้งานเช่น ออกแบบภาพกราฟิกส์ ตราสัญลักษณ์ ปรับขนาดภาพถ่าย ปรับสีของภาพ นำภาพมาซ้อนรวมกันโดยใช้เทคนิกเลเยอร์ ลบส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง เปลี่ยนฟอร์แมตของไฟล์ภาพ เป็นต้น GIMP ยังสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ ได้ด้วย
-กิมป์ ยังมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นโปรแกรมเสรีตัวแรกที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป โปรแกรมอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ เช่น GCC หรือ ลีนุกซ์เคอร์เนล เป็นเครื่องมือที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นสำหรับโปรแกรมเมอร์ด้วยกัน ความสำเร็จของ GIMP นำทางให้เกิดโปรแกรมอื่นสำหรับบุคคลทั่วไปตามมา เช่น KDE GNOME มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์




มาเริ่มต้นกับกิมป์

รูปกราฟิก เป็นส่วนประกอบสำคัญที่เราต่างได้พบเห็นอยู่ในแผ่นโฆษณา งานพรีเซนเตชั่น กล่องสินค้า เว็บไซต์ต่างๆ ทำให้ผู้ที่เห็นเกิดความสนใจในสิ่งที่นำมาเสนอ พร้อมกับเข้าชมและใช้บริการเหล่านั้น และที่ใกล้ตัวมากขึ้น คือ การตกแต่งภาพถ่าย ที่เราสามารถตกแต่งภาพในโอกาส และบรรยากาศต่างๆ ให้ออกมาอย่างน่าสนใจ ดังนั้นเนื้อหาในบทแรกนี้จะเริ่มต้นนำเสนอให้รู้จักกับภาพ กราฟิก การทำงานกับกราฟิกบนคอมพิวเตอร์ และความสามารถในการสร้างงานกราฟิกของโปรแกรม GIMP

คอมพิวเตอร์ประมวลผลภาพอย่างไร

ภาพที่เก็บในคอมพิวเตอร์นั้น มีวิธีการประมวลผลภาพ 2 แบบแตกต่างกันไปตามแต่ละโปรแกรมดังนี้ คือ

1. การประมวลผลแบบ Vector
เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์ โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน ฉะนั้นไม่ว่าเราจะมีการเคลื่อนย้ายที่หรือย่อขยายขนาดของภาพ ภาพจะไม่เสียรูปทรงในเชิงเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น รูปการ์ตูน โปรแกรมที่ประมวลผลภาพแบบ Vector ได้แก่ Illustrator, CorelDraw และ Inkscape เป็นต้น

2. การเก็บและแสดงผลแบบ Bitmap
เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการอ่าน ค่าสีในแต่ละพิกเซล มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Raster Image จะเก็บข้อมูลเป็นค่า 0 และ 1 แต่ละพิกเซลจะมีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีลักษณะแบบภาพถ่าย โปรแกรมที่ประมวลผลแบบ Bitmap ได้แก่ Photoshop, PhotoPaint และ GIMP เป็นต้น




ความสามารถของโปรแกรม GIMP

ความสามารถหลักของโปรแกรม GIMP นั้น เน้นการตกแต่งภาพกราฟิก ให้สวยงามและแปลกตา นอกจากนั้นยังใช้แก้ไขจุดบกพร่องของภาพ ทำให้ GIMP ถูกนำไปใช้ในงานตกแต่งภาพในหลายๆ ด้าน ดังตัวอย่าง

- งานตกแต่งภาพถ่ายเป็นการ ตกแต่งรูปถ่ายเก่าๆ ให้คมชัดเหมือนใหม่หรือทำการแก้ไขรูปถ่ายที่มืดไป สว่างไป มีเงาดำ ให้ภาพมีสีสดใสสมจริง นอกจากนั้นยังสามารถสร้างภาพล้อเลียน เช่น เอาใบหน้าของคนหนึ่งไปวางบนตัวคนอีกคนหนึ่ง นำภาพบุคคลไปวางไว้บนฉากหลังฉากอื่น เป็นต้น

- งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร โฆษณา เรียกได้ว่าเกือบทุกงานที่ต้องใช้รูป สามารถใช้ GIMP รังสรรค์ภาพให้เป็นไปตามไอเดียที่เราวางแผนไว้ได้

- งานเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ใช้สร้างภาพเพื่อตกแต่งเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นแบ็คกราวนด์ ปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่อง ตลอดจนภาพประกอบต่างๆ

- งานออกแบบทางกราฟิก ใช้ GIMP ช่วยในการสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือและผลิตภัณฑ์ การออกแบบการ์ดอวยพร เป็นต้น





อ้างอิง

-http://www.gimp.org/docs/
-http://th.wikipedia.org/wiki/กิมป์
-http://th.wikibooks.org/wiki/GIMP

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Blender โปรแกรม Freeware และ Open source

Blender เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)



มารู้จักโปรแกรมเบลนเดอร์ (Blender) เป็นซอฟแวร์ที่เปิดให้ฟรี ใช้ในงานด้านคอมพิวเตออร์การฟิก สามารถใช้สร้าง โมเดล3D, คลี่UV, ทำTexture, จัดการการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก, แบบจำลองการไหลของน้ำ, จำลองผิวหนัง, Computer animation, rendering, พาทิเคิล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่น, การตัดต่อและตบแต่งวีดิทัศน์และภาพผ่านระบบ คอมโพสิต, และยังใช้สร้างแอปพลิเคชันแบบ3d และมีการพอร์ตอย่างไม่เป็นทางการไปยังระบบ BeOS, SkyOS, AmigaOS, MorphOS และ Pocket PC เบลนเดอร์มีคุณลักษณะทัดเทียมกับโปรแกรมสามมิติระดับสูงอื่นๆเช่น Softimage|XSI, Cinema 4D, 3 ดีเอสแมกซ์, Lightwave และ Maya โดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่นการจำลองกองวัตถุล้มกระทบ, การกระทบกันระหว่าง ของไหล, ผ้าถูกลมพัดพริ้ว และโครงสร้างยืดหยุ่นต่างๆ, มีระบบ modifier แบบเป็นชั้นสำหรับปรับโมเดล, ระบบจัดการภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูง, ระบบจัดการวัสดุและการคอมโพสิตแบบ node และรองรับ ภาษาไพทอน สำหรับเขียนสคริป Blender ต้องการ OpenGL ในการทำงาน ในปีพ.ศ. 2550 เบลนเดอร์เป็นซอฟต์แวร์แอนิเมชันสามมิติที่ถูก install มากที่สุดในโลก



ประวัติความเป็นมาของBlender

-ในยุคแรกนั้น Blender ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในสตูดิโอแอนิเมชัน NeoGeo และ Not a Number Technologies (NaN) ในประเทศฮอลแลนด์ โดย Ton Roosendaal ซึ่งเคยเขียนโปรแกรมจำลองภาพโดยการคำนวณทิศทางแสงบนเครื่อง Amiga ในปี 1989 โดยชื่อ"เบลนเดอร์"ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงของ Yellow จาก album Baby

-ในยุคต่อมา Roosendaal ก่อตั้ง NaN ขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนปีพ.ศ. 2541 ขึ้นเพื่อพัฒนาและเผยแพร่โปรแกรมเบลนเดอร์ โดยในระยะแรกเบลนเดอร์เป็นแชร์แวร์จนกระทั่ง NaN เลิกกิจการในปีพ.ศ. 2545

-กลุ่มผู้ถือหุ้นตกลงจะขายสิทธิ์ในการจัดการ Blender license ให้เป็นแบบ GPL ในราคา €100,000 ในขณะนั้น (พ.ศ. 2545) และหลังจากที่ Roosendall ได้เริ่มระดมทุนจากการรับบริจาคระยะหนึ่ง ก็ได้ประกาศว่าวันที่ 7 เดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2545 ว่าได้รับเงินบริจาคเพียงพอ และเบลนเดอร์ก็กลายเป็นซอฟต์แวร์เสรีและได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้การดูแลของ Blender Foundation

-นระยะแรก Blender Foundation ได้สงวนสิทธิ์ที่จะใช้ dual license (การใช้ license แบบคู่ขนานคืออาจทำสัญญากับบางนิติบุคคลด้วยสัญญาที่ไม่ถูกบังคับโดยข้อ กำหนดของ GPL) แต่ทางเลือกนี้ไม่ได้ถูกใช้กระทั่งยกเลิกไปในปีพ.ศ. 2548 ปัจจุบัน Blender จึงอยู่ใต้สัญญาแบบ GPL เท่านั้น





จุดเด่นของโปรแกรมBlender

เบลนเดอร์ (Blender) เป็นโปรแกรมที่มีขนาดไฟล์ที่เล็กมากแค่ 40kb เท่านั้น ทำงานได้โดยไม่ต้องอินสตอล สามารถใส่ในแฟลชไดรฟ์ขนาด เล็กได้ สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการหลายรูปแบบ มีความสามารถในการทำคาแรคเตอร์และโมเดล ได้ใกล้เคียงหรือแม้แต่สูงกว่าโปรแกรม 3 มิติระดับสูงอื่นๆในหลายกรณี

- รองรับโครงสร้างพื้นฐานเรขาคณิตและการปฏิบัติการหลายอย่าง
- รองรับการนำเข้าไฟล์จากโปรแกรมอื่นๆ เช่น Wavefront OBJ, Wings 3D, 3 ดีเอสแมกซ์, LightWave3D, COLLADA
- มีเกมเอนจินในตัว
- ระบบแสดงผลแบบ GLSL เช่นสามารถจำลองเงาตกกระทบพื้นผิวได้ในตัว modeler เอง สามารถผสมผสานการทำงานแบบ multi texture ได้
- แก้ไขภาพแบบแรสเตอร์ได้ในตัวโดยสามารถใช้ Node เพื่อจำลองการทำงานแบบ Layer
- ระบบคลี่ UV แบบ ABF++ และ LSCM พร้อมระบบ pin ปักหมุดเพื่อช่วยการคลี่แบบต่อเนื่อง การแสดงค่าความบิดเบี้ยว/ความตึงของหน้า UV
- สามารถระบายสีบนพื้นผิว 3 มิติได้ทันที
- รองรับ tablet



อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/เบลนเดอร์_(ซอฟต์แวร์)
http://th.wikibooks.org/wiki/Blender
http://www.blender.org/

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

OpenOffice โปรแกรม Freeware และ Open source



โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ทำงานบนหลายระบบปฏิบัติการ เผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี เขียนขึ้นโดยใช้ชุดเครื่องมือส่วนต่อประสานกราฟิกของตัวเอง รองรับรูปแบบโอเพนด็อกคิวเมนต์ (ODF) ซึ่งเป็นมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซีเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้เป็นรูปแบบแฟ้มพื้นฐาน อีกทั้งยังรองรับรูปแบบเอกสารจากไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และอื่น ๆ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกรองรับมากกว่า 110 ภาษา

โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกพัฒนาต่อยอดมาจากสตาร์ออฟฟิศ (StarOffice) ซอฟต์แวร์สำนักงานจากสตาร์วิชัน (StarVision) ซึ่งภายหลังถูกควบกิจการโดยซัน ไมโครซิสเต็มส์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 รหัสต้นฉบับของชุดซอฟต์แวร์นี้เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 ด้วยจุดประสงค์เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเพิ่มทางเลือกเสรีต่อผู้ใช้และผู้พัฒนา รุ่นหลัง ๆ ของสตาร์ออฟฟิศจะใช้โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกเป็นพื้นฐานแทน และเพิ่มองค์ประกอบที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสตาร์ออฟฟิศ

ซอฟต์แวร์และโครงการนี้อาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า โอเพนออฟฟิศ แต่ชื่อนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งโดย Wouter Hanegraaff และมีการใช้ชื่อนี้ในออเรนจ์สหราชอาณาจักรอีกเช่นกัน จึงทำให้โครงการนี้ต้องใช้ชื่อว่า โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก เป็นชื่อทางการ

ในประเทศไทย เคยมีการนำ โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกมาพัฒนาต่อเพื่อให้ใช้งานภาษาไทยได้ โดยสองตัวหลักที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง คือ ปลาดาวออฟฟิศ ที่สนับสนุนโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) และ ออฟฟิศทะเล ที่พัฒนาโดยเนคเทค

ในปัจจุบัน OpenOffice ยังได้มีเวอร์ชั้น ภาษาไืทย

OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย โปรแกรมที่สามารถใช้แทน Microsoft Office ได้ และยังมีคุณสมบัติและการใช้งานที่คล้ายกันมาก จึงทำให้ง่ายต่อการใช้งาน และอีกทั้งยัง โปรแกรม OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย นั้น เป็นโปรแกรมแบบ Free ที่สามารถใช้งานกันได้อย่างฟรี ๆ อีกด้วย โดยที่เราไม่ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ตัวโปรแกรม OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย นั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่้แพ้ Microsolf Office เลย ถ้าคุณได้ลองใช้แล้ว จะบอกว่าถูกใจเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่คุณจะต้องลองให้ได้


โปรแกรมในชุด ของ OpenOffice ได้แก่

ไรเตอร์ (Writer)
โปรแกรมประมวลคำคล้ายกับไมโครซอฟท์ เวิร์ด หรือเวิร์ดเพอร์เฟกต์ สามารถนำเข้าเอกสาร DOC ของเวิร์ดได้ สามารถส่งออกเป็นเอกสาร PDF โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เพิ่มเติม และสามารถใช้เป็นโปรแกรมแก้ไขแบบ WYSIWYG สำหรับสร้างเว็บเพจ

แคลก์ (Calc)
โปรแกรมแผ่นตารางทำการคล้ายกับไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล หรือโลตัส 1-2-3 สามารถนำเข้าเอกสาร XLS ของเอกซ์เซลได้ Calc มีคุณลักษณะหลายอย่างที่ไม่มีในเอกซ์เซล รวมทั้งระบบที่สามารถกำหนดลำดับกราฟโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับข้อมูลของผู้ใช้ในตาราง และ Calc ก็สามารถส่งเอกสารออกเป็น PDF ได้เช่นกัน

อิมเพรส (Impress)
โปรแกรมนำเสนอคล้ายกับไมโครซอฟท์ เพาเวอร์พอยต์ หรือแอปเปิล คีย์โน้ต สามารถส่งออกการนำเสนอเป็นไฟล์ของอะโดบี แฟลช (SWF) ซึ่งสามารถทำให้สามารถเล่นแฟลชได้บนเครื่องที่ได้ติดตั้งแฟลชเพลเยอร์ สามารถส่งออกเป็นเอกสาร PDF และสามารถนำเข้ารูปแบบไฟล์ PPT ของเพาเวอร์พอยต์ได้ Impress ขาดแม่แบบการออกแบบเบื้องต้นที่พร้อมใช้งาน อย่างไรก็ตาม แม่แบบเหล่านั้นสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต

เบส (Base)
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลคล้ายกับไมโครซอฟท์ แอ็กเซส Base สามารถสร้างและจัดการแก้ไขฐานข้อมูล สร้างแบบฟอร์มและรายงานเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายจากผู้ใช้ทั่วไป Base สามารถใช้เป็นส่วนหน้าของระบบฐานข้อมูลที่แตกต่างได้หลายชนิด รวมทั้งฐานข้อมูลแอ็กเซส (JET), แหล่งข้อมูล ODBC, และ MySQL/PostgreSQL Base เริ่มเข้ามาเป็นโปรแกรมในชุดตั้งแต่รุ่น 2.0 เป็นการดัดแปลงมาจาก HSQL ในขณะที่ Base สามารถเป็นส่วนหน้าของฐานข้อมูลใด ๆ ดังที่กล่าวไว้ โปรแกรมไม่จำเป็นต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่ส่งผ่านคำสั่ง SQL หรือใช้งานผ่านส่วนต่อประสานกราฟิกหากต้องการ

ดรอว์ (Draw)
โปรแกรมสร้างและแก้ไขเวกเตอร์กราฟิกส์และเครื่องมือสร้างแผนภูมิ คล้ายกับไมโครซอฟท์ วิซิโอ มีคุณลักษณะเทียบได้กับรุ่นก่อนของคอเรลดรอว์ สามารถสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปร่างและเส้นที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อการวาดแผนภูมิให้ง่ายขึ้นเช่นโฟลวชาร์ต โปรแกรมนี้มีคุณลักษณะคล้ายซอฟต์แวร์ประเภท Desktop publishing อาทิ Scribus และไมโครซอฟท์ พับบลิชเชอร์ Draw สามารถส่งออกเอกสารให้เป็น PDF ได้เช่นกัน

แมท (Math)
เครื่องมือสำหรับสร้างและแก้ไขสูตรคณิตศาสตร์ คล้ายกับไมโครซอฟท์ อีเควชันเอดิเตอร์ สูตรที่สร้างขึ้นสามารถฝังลงในเอกสารอื่นๆ ของโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกเช่นเดียวกับที่ทำโดย Writer รองรับการใช้ฟอนต์หลายแบบและสามารถส่งออกเป็น PDF


อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก
http://www.nectec.or.th/pub/review-software/openoffice/openoffice.html
http://th.wikibooks.org/wiki/OpenOffice