วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สร้างเว็บด้วย Kompozer

Kompozer



โปรแกรม Kompozerเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการสร้าง Web สามารถจักการไฟล์เว็บ (HTML) การแก้ไขเว็บWYSIWYG (What You See Is What You Get) แก้ไขรูปแบบ stylesheet (CSS) มารวมไว้ด้วยกัน ใช้ง่ายเหมือน word processor สามารถเห็นผลลัพท์ของหน้า Web ได้ในทันที เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการ Web ที่สวยงาม ไม่จำเป็นต้องมีึความรู้เรื่อง HTML หรือสำหรับมืออาชีพที่ต้องการประหยัดเวลาโดยสามารถดูผลลัพธ์และ HTML สลับกันได้เพียงสลับ tab และเมื่อสร้างเนื้อหาเสร็จแล้ว คุณก็สามารถเผยแพร่ขี้นไปบนเว็บไซต์ได้ในปุ่มเดียว

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทและความสำคัญสำหรับสังคมในโลกปัจจุบัน เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารครอบคลุมได้ทั่วโลก การนำเสนอข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บนี้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปลาย ปี ค.ศ.1989 โดยทีมงานจากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มีการพัฒนาภาษาที่ใช้สนับสนุนการเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือ เอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องบริการเว็บ (Server) ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ

ส่วนประกอบของโปรแกรม KompoZer




ส่วนประกอบหลักของหน้าต่างการใช้งานโปรแกรม KompoZer มีรายละเอียดดังนี้
1. แถบเมนู จะรวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการจัดการเว็บเพจทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่
ประกอบด้วย File, Edit, View, Insert, Format, Table, Tools, Help

2. แถบเครื่องมือ จะประกอบด้วยปุ่ม หรือ ไอคอนแทนคำสั่งที่ใช้งานอยู่เป็นประจำโดย


ไม่จำเป็นต้องคลิกเลือกคำสั่งจากแถบเมนู เช่น การเปิดไฟล์ข้อมูล , การบันทึก ไฟล์ข้อมูล, การแทรกรูปภาพ เป็นต้น
หากต้องการแสดงหรือซ่อน แถบเครื่องมือใดสามารถ คลิกเลือกได้ที่ แถบเมนู View ->Show/Hide แล้วเลือกแถบ
เครื่องมือที่ต้องการ

3. พื้นที่จัดการไซด์ เป็นส่วนที่ใช้ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (เอกสารที่สร้างจากโปรแกรม KompoZer)
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (Upload) หรือ
จะเป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นมาเก็๋บไว้ในเครื่องเรา (Download) ก็ตาม

4. พื้นที่แก้ไขข้อความ เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างเอกสาร สามารถจัดรูปแบบของหน้าเว็บเพจตามต้องการ

5. โหมดการแสดงผล แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
- Normal Mode มีลักษณะเหมือนกับพื้นที่หน้ากระดาษเช่นเดียวกับในโปรแกรมประมวลผลคำทั่วไป
เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการใช้งาน
- HTML Mode มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Normal Mode แตกต่างเพียงจะมีสัญลักษณ์กำกับว่า
ในแต่ละส่วนได้มีการใช้โครงสร้างแท๊กของภาษา HTML ใด
- Source Mode จะปรากฏรายละเอียดของการใช้โครงสร้างแท๊กของภาษา HTML ทั้งหมด
เหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการใช้งานโครงสร้างภาษา HTML เป็นอย่างดี
- Preview Mode จะช่วยให้ผู้ใช้งานทราบว่า เมื่อเปิดเอกสารนี้บนเว็บบราวเซอร์
เว็บเพจนี้จะมีลักษณะอย่างไร




ฺที่มา
- http://www.thaiopensource.org/softwarerecommended/kompozer
- http://krunes.maepa.org

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาน่าสนใจคะแต่ตัวหนังเล็กไปหน่อยนะคะ มีรูปภาพน้อยไปนิดอ่ะ

    ตอบลบ