วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
OpenOffice โปรแกรม Freeware และ Open source
โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ทำงานบนหลายระบบปฏิบัติการ เผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี เขียนขึ้นโดยใช้ชุดเครื่องมือส่วนต่อประสานกราฟิกของตัวเอง รองรับรูปแบบโอเพนด็อกคิวเมนต์ (ODF) ซึ่งเป็นมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซีเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้เป็นรูปแบบแฟ้มพื้นฐาน อีกทั้งยังรองรับรูปแบบเอกสารจากไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และอื่น ๆ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกรองรับมากกว่า 110 ภาษา
โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกพัฒนาต่อยอดมาจากสตาร์ออฟฟิศ (StarOffice) ซอฟต์แวร์สำนักงานจากสตาร์วิชัน (StarVision) ซึ่งภายหลังถูกควบกิจการโดยซัน ไมโครซิสเต็มส์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 รหัสต้นฉบับของชุดซอฟต์แวร์นี้เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 ด้วยจุดประสงค์เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเพิ่มทางเลือกเสรีต่อผู้ใช้และผู้พัฒนา รุ่นหลัง ๆ ของสตาร์ออฟฟิศจะใช้โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกเป็นพื้นฐานแทน และเพิ่มองค์ประกอบที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสตาร์ออฟฟิศ
ซอฟต์แวร์และโครงการนี้อาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า โอเพนออฟฟิศ แต่ชื่อนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งโดย Wouter Hanegraaff และมีการใช้ชื่อนี้ในออเรนจ์สหราชอาณาจักรอีกเช่นกัน จึงทำให้โครงการนี้ต้องใช้ชื่อว่า โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก เป็นชื่อทางการ
ในประเทศไทย เคยมีการนำ โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกมาพัฒนาต่อเพื่อให้ใช้งานภาษาไทยได้ โดยสองตัวหลักที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง คือ ปลาดาวออฟฟิศ ที่สนับสนุนโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) และ ออฟฟิศทะเล ที่พัฒนาโดยเนคเทค
ในปัจจุบัน OpenOffice ยังได้มีเวอร์ชั้น ภาษาไืทย
OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย โปรแกรมที่สามารถใช้แทน Microsoft Office ได้ และยังมีคุณสมบัติและการใช้งานที่คล้ายกันมาก จึงทำให้ง่ายต่อการใช้งาน และอีกทั้งยัง โปรแกรม OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย นั้น เป็นโปรแกรมแบบ Free ที่สามารถใช้งานกันได้อย่างฟรี ๆ อีกด้วย โดยที่เราไม่ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
ตัวโปรแกรม OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย นั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่้แพ้ Microsolf Office เลย ถ้าคุณได้ลองใช้แล้ว จะบอกว่าถูกใจเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น OpenOffice 3.2.0 ภาษาไทย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่คุณจะต้องลองให้ได้
โปรแกรมในชุด ของ OpenOffice ได้แก่
ไรเตอร์ (Writer)
โปรแกรมประมวลคำคล้ายกับไมโครซอฟท์ เวิร์ด หรือเวิร์ดเพอร์เฟกต์ สามารถนำเข้าเอกสาร DOC ของเวิร์ดได้ สามารถส่งออกเป็นเอกสาร PDF โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เพิ่มเติม และสามารถใช้เป็นโปรแกรมแก้ไขแบบ WYSIWYG สำหรับสร้างเว็บเพจ
แคลก์ (Calc)
โปรแกรมแผ่นตารางทำการคล้ายกับไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล หรือโลตัส 1-2-3 สามารถนำเข้าเอกสาร XLS ของเอกซ์เซลได้ Calc มีคุณลักษณะหลายอย่างที่ไม่มีในเอกซ์เซล รวมทั้งระบบที่สามารถกำหนดลำดับกราฟโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับข้อมูลของผู้ใช้ในตาราง และ Calc ก็สามารถส่งเอกสารออกเป็น PDF ได้เช่นกัน
อิมเพรส (Impress)
โปรแกรมนำเสนอคล้ายกับไมโครซอฟท์ เพาเวอร์พอยต์ หรือแอปเปิล คีย์โน้ต สามารถส่งออกการนำเสนอเป็นไฟล์ของอะโดบี แฟลช (SWF) ซึ่งสามารถทำให้สามารถเล่นแฟลชได้บนเครื่องที่ได้ติดตั้งแฟลชเพลเยอร์ สามารถส่งออกเป็นเอกสาร PDF และสามารถนำเข้ารูปแบบไฟล์ PPT ของเพาเวอร์พอยต์ได้ Impress ขาดแม่แบบการออกแบบเบื้องต้นที่พร้อมใช้งาน อย่างไรก็ตาม แม่แบบเหล่านั้นสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต
เบส (Base)
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลคล้ายกับไมโครซอฟท์ แอ็กเซส Base สามารถสร้างและจัดการแก้ไขฐานข้อมูล สร้างแบบฟอร์มและรายงานเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายจากผู้ใช้ทั่วไป Base สามารถใช้เป็นส่วนหน้าของระบบฐานข้อมูลที่แตกต่างได้หลายชนิด รวมทั้งฐานข้อมูลแอ็กเซส (JET), แหล่งข้อมูล ODBC, และ MySQL/PostgreSQL Base เริ่มเข้ามาเป็นโปรแกรมในชุดตั้งแต่รุ่น 2.0 เป็นการดัดแปลงมาจาก HSQL ในขณะที่ Base สามารถเป็นส่วนหน้าของฐานข้อมูลใด ๆ ดังที่กล่าวไว้ โปรแกรมไม่จำเป็นต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่ส่งผ่านคำสั่ง SQL หรือใช้งานผ่านส่วนต่อประสานกราฟิกหากต้องการ
ดรอว์ (Draw)
โปรแกรมสร้างและแก้ไขเวกเตอร์กราฟิกส์และเครื่องมือสร้างแผนภูมิ คล้ายกับไมโครซอฟท์ วิซิโอ มีคุณลักษณะเทียบได้กับรุ่นก่อนของคอเรลดรอว์ สามารถสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปร่างและเส้นที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อการวาดแผนภูมิให้ง่ายขึ้นเช่นโฟลวชาร์ต โปรแกรมนี้มีคุณลักษณะคล้ายซอฟต์แวร์ประเภท Desktop publishing อาทิ Scribus และไมโครซอฟท์ พับบลิชเชอร์ Draw สามารถส่งออกเอกสารให้เป็น PDF ได้เช่นกัน
แมท (Math)
เครื่องมือสำหรับสร้างและแก้ไขสูตรคณิตศาสตร์ คล้ายกับไมโครซอฟท์ อีเควชันเอดิเตอร์ สูตรที่สร้างขึ้นสามารถฝังลงในเอกสารอื่นๆ ของโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกเช่นเดียวกับที่ทำโดย Writer รองรับการใช้ฟอนต์หลายแบบและสามารถส่งออกเป็น PDF
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก
http://www.nectec.or.th/pub/review-software/openoffice/openoffice.html
http://th.wikibooks.org/wiki/OpenOffice
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อ่านง่ายดีคะ รูปแบบสวยดีคะรูปภาพก็เหมาะกับเนื้อหาตัวอักษรเล็กไปหน่อยนะ
ตอบลบ